ด้านอาชีพและเศรษฐกิจโดยรวม
ด้านอาชีพและเศรษฐกิจโดยรวม
สภาพเศรษฐกิจมีการประกอบอาชีพการเกษตรกรรมเป็นหลัก
1. เช่น การทำนา ทำไร่ โดยมีการปลูกข้าว ถั่วเหลือง ถั่งลิสง ยาสูบ และปลูกไม้ผล ได้แก่ มะม่วง มะขามหวาน ลำไย ลิ้นจี่ เป็นต้น
2. การประกอบอาชีพด้านพาณิชยกรรม จะเป็นการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น ให้แก่ประชาชนในเขตเทศบาลและชุมชนโดยรอบ และมีบางส่วนของประชากรในวัยแรงงานที่ออกไปทำงานในจังหวัดอื่น โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครและต่างประเทศ
ด้านเศรษฐกิจ
โครงสร้างทางเศรษฐกิจ / รายได้ประชากร
การประกอบอาชีพของประชาชนในเขตเทศบาล คือ การเกษตรกรรม การค้าขาย และรับจ้างทั่วไป
การเกษตรกรรม
ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ทำการเกษตรกรรม
ปลูกพืชไร่ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ถั่วลิสง ยางพารา
ปลูกผลไม้ ได้แก่ ลำไย มะม่วง
ปลูกพืชผัก ได้แก่ ผักกาดเขียวปลี ถั่วฝักยาว กระเทียม
เทศบาลจะสนับสนุนและพัฒนาเกษตรกรรมของราษฎรให้สามารถเพิ่มรายได้และผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพโดยจัดหาแหล่งน้ำในการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจทุกชนิด ซึ่งมีการส่งเสริมการปลูกโดยสหกรณ์การเกษตรและบริษัทเอกชน
การอุตสาหกรรม
การอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น การจัดตั้งกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง ในหมู่บ้านศรีอุดม หมู่ที่ 1 ตำบลเชียงกลาง การจัดตั้งกลุ่มทอพรมเช็ดเท้า ในหมู่บ้านเจดีย์ 1 หมู่ที่ 3 ตำบลเชียงกลาง
การพาณิชยกรรม / การบริการ
การพาณิชยกรรม
มีการประกอบการค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการหลายประเภทเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านอุปโภค – บริโภค ของประชาชน สนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับนักธุรกิจและประชาชนได้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพซึ่งก่อให้เกิดผลผลิต การบริการ การหมุนเวียนของเงิน การสร้างงานเพิ่มขึ้นในชุมชน อันจะทำให้ฐานะความเป็นอยู่ทางด้านเศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้นสถานที่ประกอบการ พาณิชยกรรมดังกล่าว มีดังนี้
- สหกรณ์การเกษตร จำนวน 1 แห่ง
- สถานที่บริการน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 3 แห่ง
- ธนาคาร จำนวน 2 แห่ง
การบริการ
การบริการขั้นพื้นฐานให้กับประชาชนในเขตเทศบาลไม่ว่าจะเป็นในด้านสาธารณสุข ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินตลอดจนการให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ในด้านการศึกษาการรักษาพยาบาล และให้บริการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ฯลฯ เป็นต้น สถานที่ประกอบธุรกิจทางด้านการบริการได้แก่
- ตลาดสด จำนวน 3 แห่ง
- ร้านค้าเบ็ดเตล็ด จำนวน 82 แห่ง
- สถานบริการร้านอาหาร จำนวน 19 แห่ง
การท่องเที่ยว
วัดหนองแดง เป็นสถาปัตยกรรมไทลื้อ ตั้งอยู่บ้านหนองแดง หมู่ที่ 1 ตำบลเปือ เป็นโบราณสถานเก่าแก่ของล้านนาไทย ก่อสร้างโดยช่างชาวไทยลื้อ (แคว้นสิบสองปันนา) มีอายุประมาณ 200 ปีเศษ ตัวฐานกว้าง 10.70 เมตร ยาว 17.60 เมตร กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2524
สถานที่บริการที่พัก
มีสถานที่พักบริการ จำนวน 5 แห่ง