ประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 22/2564
ประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 22/2564 เรื่อง เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก ดินถล่ม น้ำล้นอ่างเก็บน้ำ และน้ำล้นตลิ่ง ตามประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 13 เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 9 ตุลาคม 2564 พายุโซนร้อน“ไลออนร็อก” มีศูนย์กลางอยู่บริเวณเกาะไหหลำ ประเทศจีน คาดว่าเคลื่อนลงสู่อ่าวตังเกี๋ยและขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ในช่วงวันที่ 10 - 11 ตุลาคม 2564 และจะอ่อนกำลังลงตามลำดับต่อไป ซึ่งจะทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงวันเวลาดังกล่าวจะมีฝนเพิ่มขึ้น ทางตอนบนของภาค ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มีกำลังแรง ทำให้ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนัก
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำจากแผนที่ฝนคาดการณ์ (ONE MAP) ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากของกรมทรัพยากรน้ำ และกรมทรัพยากรธรณี พบว่าในช่วงวันที่ 11 – 16 ตุลาคม 2564 มีพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังอุทกภัย ดังนี้
1. เฝ้าระวังน้ำหลาก ดินถล่ม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดสกลนคร และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด และสระแก้ว ภาคตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และเพชรบุรี ภาคใต้ จังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล
2. เฝ้าระวังระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำมากกว่า 80% และแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้น กระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำในภาคเหนือ (จังหวัดพิษณุโลก ลำปาง สุโขทัย น่าน เพชรบูรณ์ และอุตรดิตถ์) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดชัยภูมิ มหาสารคาม ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ อุดรธานี มุกดาหาร ยโสธร เลย บึงกาฬ นครพนม กาฬสินธุ์ หนองบัวลำภู และสกลนคร) ภาคตะวันออก (จังหวัดระยอง นครนายก ปราจีนบุรี ตราด สระแก้ว จันทบุรี และชลบุรี) ภาคกลาง (จังหวัดลพบุรี และสระบุรี) ภาตตะวันตก (จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และประจวบคีรีขันธ์) และภาคใต้ (จังหวัดกระบี่ ภูเก็ต ระนอง และสุราษฎร์ธานี)
3. เฝ้าระวังระดับน้ำในลำน้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นล้นตลิ่ง และท่วมขังบริเวณที่ลุ่มต่ำ
3.1 ภาคเหนือ บริเวณแม่น้ำน่าน อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร แม่น้ำยม อำเภอสามง่าม และอำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
3.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณแม่น้ำชี อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอกันทรวิชัย
และอำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม อำเภอฆ้องชัย อำเภอกมลาไสย อำเภอยางตลาด
และอำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอเมืองยโสธร และอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร แม่น้ำมูล อำเภอประโคนชัย อำเภอสตึก และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอชุมพลบุรี และอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ อำเภอเมืองศรีสะเกษ และอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ และอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
3.3 ภาคกลาง บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง และอำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แม่น้ำป่าสัก อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี แม่น้ำลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี แม่น้ำท่าจีน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี และอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
4. เฝ้าระวังแม่น้ำโขง บริเวณจังหวัดเชียงรายจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงเพิ่มสูงขึ้น
ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้
1. ติดตามสภาพอากาศและสภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ
2. ปรับแผนบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 หรือเกณฑ์ควบคุมสูงสุด (Upper Rule Curve) ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ พร้อมพิจารณาบริหารจัดการเขื่อนระบายน้ำและประตูระบายน้ำ เพื่อพร่องน้ำและเร่งระบายน้ำในลำน้ำ แม่น้ำ รวมทั้งใช้พื้นที่ลุ่มต่ำ
เป็นแก้มลิงหน่วงน้ำและรองรับน้ำหลาก
3. ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงและความสามารถใช้งานของอ่างเก็บน้ำ อาคารบังคับน้ำ
และติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำและกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพื่อเตรียมความพร้อมรับน้ำหลากป้องกันน้ำท่วม ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที
5. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์