ข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
เทศบาลตำบลเชียงกลาง เดิมชื่อ “สุขาภิบาลตำบลสบกอน” จัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 2 เดือนกันยายน พ.ศ. 2512 ตรงกับปีระกา ต่อมาได้ยกฐานะเป็น “สุขาภิบาลตำบลสบกอน” เมื่อวันที่ 24 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ ( 9 ก ) และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “เทศบาลตำบลเชียงกลาง” ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 18 เดือนมกราคม พ.ศ. 2549
เทศบาลตำบลเชียงกลาง มีตราสัญลักษณ์เทศบาลเป็นรูปไก่ฟ้า ทุ่งนา ภูเขา หางไก่ 3 เส้น และริ้วลายไทยรูปรวงข้าว ซึ่งมีความหมายดังนี้
ไก่ฟ้า หมายถึง การก่อตั้งในปีระกา และไก่ฟ้าเป็นไก่ที่ทีตระกูล มีความสง่า และสวยงาม
ทุ่งนา หมายถึง ประชาชนส่วนใหญ่ทำอาชะเกษตรกรรม
ภูเขา หมายถึง สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่ล้อมรอบด้วยภูเขา
หางไก่ 3 เส้น หมายถึง แม่น้ำ 3 สาย ในเขตเทศบาลตำบลเชียงกลาง ได้แก่ แม่น้ำน่าน แม่น้ำกอน และแม่น้ำเปือ
ริ้วลายไทยรูปรวงข้าว หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์
ด้านการเมืองและการบริหาร
ด้านการเมือง – การบริหาร โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ในการบริหารงาน
เทศบาลตำบลเชียงกลาง เปลี่ยนแปลงฐานะมาจากสุขาภิบาล เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542
สภาเทศบาล ประกอบด้วยสมาชิกที่ประชาชนเลือกตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น มีจำนวน 12 คน ดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี สภาเทศบาลมีประธานหนึ่งคน และรองประธานสภาหนึ่งคน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งจากสมาชิกสภาเทศบาลตามมติของสภาเทศบาล
ผู้บริหารท้องถิ่น ประกอบด้วยนายกเทศมนตรีหนึ่งคนซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นและมีรองนายกเทศมนตรีหนึ่งคนพร้อมที่ปรึกษา ซึ่งนายกเทศมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ง โดยมีนายกเทศมนตรีทำหน้าที่ฝ่ายบริหาร และปลัดเทศบาล ทำหน้าที่ฝ่ายปกครองบังคับบัญชาพนักงานเทศบาลซึ่งเป็นข้าราชการประจำ แบ่งส่วนราชการได้ดังนี้
1. สำนักปลัด
2. กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
3. กองวิชาการและแผนงาน
4. กองช่าง
5. กองคลัง
6. กองการศึกษา
อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบล คือ
ตามมาตรา 50 ของพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มีดังต่อไปนี้
1. รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
2. ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
3. รักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
4. ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
5. ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
6. ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
7. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
8. บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
9. หน้าที่อื่นตามกฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
อำนาจหน้าที่ที่จะเลือกปฏิบัติ
การคลังท้องถิ่น
รายรับ – รายจ่าย เมื่อสิ้นปีงบประมาณ 2554 (30 กันยายน 2554)
รายรับ จำนวน 43,881,477.72 บาท
รายจ่าย จำนวน 41,892,761.65 บาท
บทบาท/การมีส่วนร่วมของประชาชน
สนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมถ่ายทอดความรู้ให้แก่แกนนำชุมชน/ประชาคม ให้มีศักยภาพที่จะสร้างกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน และรณรงค์/ประชาสัมพันธ์ให้ตื่นตัวกับกระแสการมีส่วนร่วมและการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในกิจกรรมต่าง ๆ
การอำนวยการเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิต – ทรัพย์สินและสวัสดิการของประชาชน
การรักษาความสงบเรียบร้อยจะอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยเฉพาะจะเป็นสถานที่และบุคคลเป้าหมายหรือโบราณสถานที่ทรงคุณค่าต่าง ๆ
สถิติและข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่น
สถิติการเลือกตั้ง
สถิติผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งผู้บริหารเทศบาลตำบลเชียงกลาง
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ข้อมูล ณ วันที่ 24 กรกฎาคม 2554 จำนวน 7,911 คน จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 5,054 คน คิดเป็นร้อยละ 64.26 จำนวนบัตรเสีย 244 ใบ คิดเป็นร้อยละ 4.80
สถิติผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลเชียงกลาง
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ข้อมูล ณ วันที่ 24 กรกฎาคม 2554 จำนวน 7,911 คน จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 5,054 คน คิดเป็นร้อยละ 64.26 จำนวนบัตรเสีย 170 ใบ คิดเป็นร้อยละ 3.36
การเลือกตั้งไม่มีปัญหา/อุปสรรคแต่ประการใด
ด้านประชากรและสังคม
ประชากร
ตารางแสดงจำนวนหลังคาเรือนแต่ละหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลเชียงกลาง
ข้อมูล ณ วันที่ พฤษภาคม สิงหาคม 2555
ตำบล | หมู่ที่ | ชื่อหมู่บ้าน | จำนวนบ้าน/หลัง |
เชียงกลาง |
1 2 3 5 9 10 11 13 |
ศรีอุดม เชียงโคม เจดีย์ 1 สบกอน 1 งิ้ว เจดีย์ 2 สบกอน 2 สบกอน 3 |
193 153 226 364 35 198 409 256 |
พญาแก้ว |
1 2 3 |
น้ำคา คันนา พูล |
212 189 91 |
เปือ |
1 2 4 5 6 7 8 11 15 |
หนองแดง นาหนุน สันทนา วังว้า ห้วยเลื่อน ดอนสบเปือ ป่าแดง รัชดา 1 รัชดา 2 |
183 81 38 19 32 97 120 267 299 |
รวม | 3,463 |
การศึกษา ศาสนา ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม การศึกษาในระบบโรงเรียน
- มีวัดและสำนักสงฆ์ จำนวน 8 แห่ง
- โรงเรียนสังกัด สพฐ. จำนวน 7 แห่ง
- โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน จำนวน 3 แห่ง
- โรงเรียนปริยัติธรรม จำนวน 1 แห่ง
การสาธารณสุข
มีการให้บริการสาธารณสุข โดยมีสถานบริการดังนี้
- โรงพยาบาล ขนาด 30 เตียง จำนวน 1 แห่ง
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จำนวน 1 แห่ง
- สถานีอนามัยประจำตำบล จำนวน 3 แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 1 แห่ง
- สถานพยาบาลเอกชน จำนวน 1 แห่ง
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
มีสถานีตำรวจภูธรเชียงกลาง 1 แห่ง ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคมและเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของราษฎรในชุมชนให้สงบร่มเย็น
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรน้ำ
ทรัพยากรน้ำส่วนใหญ่ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ลำห้วยที่ไหลมาจากภูเขาทางทิศตะวันออกของเทศบาล และทางทิศเหนือติดกับแม่น้ำน่านซึ่ง แหล่งน้ำเหล่านี้จะนำมาใช้ในการเกษตร และอุปโภค บริโภค และในบางฤดูกาลจะมีปัญหาขาดแคลนน้ำในบางพื้นที่ของเขตเทศบาล โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง
ทรัพยากรป่าไม้
พื้นที่ป่าไม้ในเขตเทศบาลมีเล็กน้อย เพราะในเขตเทศบาลเป็นเขตชุมชน
ทรัพยากรธรณี
ไม่พบทรัพยากรธรณีที่สำคัญในเขตเทศบาล
11.4 สภาพสิ่งแวดล้อม
คุณภาพสิ่งแวดล้อมยังคงสภาพที่ดี
การคมนาคม
การคมนาคม
การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัด รวมทั้งการคมนาคมภายในหมู่บ้าน ตำบล ได้มีการปรับปรุงพัฒนาให้มีประสิทธิภาพประกอบกับเส้นทางที่ใช้ติดต่อกันระหว่างอำเภอ ซึ่งใช้ทางหลวงแผ่นดินสาย น่าน – ทุ่งช้าง หมายเลข 1080 ใช้เดินทางไปสู่อำเภอปัว และอำเภอทุ่งช้าง มีรถโดยสารประจำทางสายกรุงเทพฯ – ทุ่งช้าง และสายทุ่งช้าง – เชียงใหม่ เดินทางจากทุ่งช้างไปสู่จังหวัดอื่นทำให้เกิดการพัฒนาระบบเศรษฐกิจให้เกิดความคล่องตัว
การจราจร
ได้ประสานกับสถานีตำรวจภูธรเชียงกลาง เกี่ยวกับการจัดระบบการจราจรในย่านชุมชนหนาแน่น และตั้งงบประมาณการจัดทำป้ายเครื่องหมายจราจร ติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะส่องสว่าง และสัญญาณไฟจราจรเตือนตามแยกที่มักเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ฯลฯ เพื่อเป็นการป้องกันและลดอุบัติเหตุ
การใช้ที่ดิน
ได้มีการวางแผนการใช้ที่ดินให้เหมาะสมกับความเจริญของท้องที่ เช่น การพัฒนาที่ดินบริเวณที่ติดถนนหรือย่านชุมชน ได้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ และบริเวณที่มีดินอุดมสมบูรณ์ก็ให้มีการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจหรือการทำไร่ ทำนา ทำสวน